ReadyPlanet.com


กระโดดเมื่อพร้อม อีกบทเรียนธุรกิจจาก Apple


 เมื่อคุณสร้างแบรนด์หรือทำสินค้าขึ้นมาตัวหนึ่ง คุณย่อมอยากให้สินค้าคุณดีที่สุด แต่มันมักไม่มีวันดีที่สุด ต้องมีข้อติ ข้อเรียกร้องเพิ่มจากลูกค้าได้เสมอ

ปัญหาอาจเกิดจากข้อจำกัดของการผลิต, การออกแบบ, ต้นทุน แม้กระทั่งข้อจำกัดในการบริหารจัดการจากเราเอง และแน่นอนว่า หากเราไม่ฟัง feedback หรือเสียงสะท้อนจากลูกค้า อนาคตอาจไปต่อไม่ได้ อีกด้านหนึ่งถ้าฟังมากไป แล้วทำตามเสียหมดคิดว่าจะขายได้ขายดีหรือ? ซึ่งบางทีก็ไม่รู้ว่าต้องขายที่ราคาไหน? เพราะสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมมาย่อมมีต้นทุน

IFrame

บทความเกี่ยวกับธุรกิจ ที่ไม่ได้พูดถึงหลักการวิชาการใด แต่เป็นเพียงข้อสังเกตที่นอกจากจะให้แง่คิดทางธุรกิจแล้วอาจมีประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในบางมุมด้วยก็ได้ และ Apple แบรนด์สินค้าที่อาจได้เห็นบทความการตลาด หรือด้านธุรกิจกันมาบ่อยครั้ง แต่เรื่องนี้เป็นอีกมุมเล็ก ๆ ที่ไม่น่าจะผ่านตา เพราะปกติส่วนตัวก็ไม่ค่อยเขียนอะไรถึงแบรนด์นี้เท่าไหร่ ทั้งไม่ได้เป็นสาวก และแง่อื่น ๆ คนก็เขียนกันไปมากมายแล้วด้วย…

ผลิตภัณฑ์อันยอดเยี่ยม?

แม้หลายคนจะชื่นชมผลิตภัณฑ์จาก Apple ว่ายอดเยี่ยมเพียงใด แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นพ้อง หรือว่าชอบ/ใช้ไปเสียหมด ตำหนิหรือข้อบกพร่องในสินค้าบางรุ่นย่อมมีทั้งสิ้น ตรงนี้เราไม่ต้องพูดถึง แต่ในแง่แบรนด์และการนำเสนอผลิตภัณฑ์โดยอย่างยิ่งในหมวดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งที่ขาดไม่ได้ต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคคือ “การเปรียบเทียบ” ระหว่างผลิตภัณฑ์

บริษัท Apple นั้นก่อตั้งมานาน มีผลิตภัณฑ์มามากมาย ซึ่งคงไม่ย้อนไปกล่าวรวมถึงทั้งหมดนั่น สิ่งที่จะนำมาเป็นข้อสังเกตคือเริ่มจากยุคหลังกำเนิดโทรศัพท์มือถือ เห็นได้ชัดว่า Apple เข้ามาในวงการนี้ในเวลาที่เหมาะสม ถึง Apple จะเป็นรายแรก ๆ ที่เริ่มทำมือถือแบบสมาร์ทโฟน คือมีความเป็นคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ มีหน้าจอสัมผัสก็ตาม แต่คู่แข่งรายอื่นก็มีมากมาย ซึ่งแน่นอนการเปรียบเทียบสเปค หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ก็มีมาตลอด และหลายด้านที่ด้อยกว่าก็ดูจะเป็นเช่นนั้น โดยสาวกเองก็ต้องแอบยอมรับ ที่เราจะค่อย ๆ พูดถึงกันไปและไม่จำเพาะในโทรศัพท์มือถือเท่านั้นด้วย

อดทนข้อด้อย หรือค่อย ๆ พัฒนา?

ผลิตภัณฑ์แรกที่ต้องพูดถึงคือ iPhone แม้จะมีหลายอย่างที่เป็นผู้นำทำก่อนเขา แต่ก็หลายครั้งที่ผลิตภัณฑ์นี้ถูกเปรียบเทียบและตำหนิในข้อด้อย หลายเรื่องในหลายปีที่ผ่านมา ตัวอย่างดังนี้

  • จอเล็ก : เป็นสิ่งแรกที่ iPhone โดนโจมตี ในช่วงยุค iPhone 4 ถึง 5s ที่มีหน้าจอเพียง 4 นิ้ว ขณะแบรนด์อื่นหน้าจอไปที่ 5-6 นิ้วกันแล้ว ส่วนตัวเชื่อว่า การทำจอใหญ่สำหรับ iPhone ช่วงแรกไม่ง่าย เพราะถ้าทำทันทีปัญหาที่มาแทนที่คือ แบตเตอรี่ก็ต้องหมดเร็ว รวมถึงความละเอียดของหน้าจออาจต้องสูญเสีย ไหนจะด้าน software ที่ต้องปรับตาม ซึ่งทั้ง 2 อย่างหลังเรื่องจอสวยงามและความเสถียรนั้นเป็นจุดแข็งของ iPhone ตอนนั้นทั้งคู่ ขืนรีบตามกระแสไป จอใหญ่อาจทำลายจุดแข็งเดิม แบบไม่น่าจะคุ้มค่านัก (ตอน iPhone 6 ออกมาแรก ๆ ก็มีปัญหาบางแอพกับขนาดจอจริง ๆ แต่ส่วนน้อย ซึ่งก็ไม่ใช่จาก Apple เอง)
  • กล้องคู่ : นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่มาทีหลังเขา จะว่าไปไม่ใช่แค่การมีกล้องคู่แต่คุณภาพกล้องแรก ๆ ก็ถูกโจมตีไม่น้อยถึงจะไม่ได้แย่ แต่ความเป็นมือถือราคาแพงย่อมถูกคาดหวัง แม้กล้องคู่จะถูกใส่มาในยุค iPhone 7 แต่อาจยังไม่ดูเด่นอะไรนักด้วยเพราะใคร ๆ ก็มีแล้ว แต่พอเข้า iPhone 8 ในรุ่น plus กล้องถูกพัฒนาความสามารถจนถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายรูปได้ดีมาก ๆ ในยุคนั้น แบบที่แฟน และไม่ใช่แฟน ต้องเริ่มยอมรับและก็ไม่มีใครมองว่ากล้อง iPhone เสียเปรียบแบรนด์อื่นได้อีกเลย
  • ปากกาไม่มี : มันไม่จำเป็น อาจเป็นสิ่งที่ผู้ใช้หลายคนเห็นด้วยกับ Steve Jobs เมื่อในอดีต แต่ก็มีไม่น้อยที่อยากได้มันเหมือนที่ samsung ทำ ถ้ามองกลาง ๆ คนใช้ปากกาจริงจังบนโทรศัพท์ก็มีแค่เฉพาะกลุ่ม แต่ภายหลัง Apple ก็มีปากกา แต่ใช้บน iPad ซึ่งดูแล้วเหมาะสม และเป็นอะไรที่ขาดแทบไม่ได้ในยุคปัจจุบัน เพราะนักเรียนนักศีกษาต่างใช้กันมากมาย นี่ก็คืออีกหนึ่งที่เห็นชัดว่ามาเมื่อพร้อมจริง ๆ … ทดลองเล่นสล็อต
  • จอพับยังไม่มา : ณ ปัจจุบันเลยปี ค.ศ. 2021 มือถือเริ่มมีจอพับออกมาจำหน่าย แม้ใครจะมองว่าไม่จำเป็น แต่ข้อดีมันก็มีอยู่คือทำให้อุปกรณ์พกพาเล็กลงได้ในตอนเก็บ แล้วเวลาใช้ก็ได้จอใหญ่สบายตา ซึ่งหากมองอดีตที่ผ่านมาก็คงไม่ต่างกันที่ วันนี้ยังไม่มา วันหน้าก็ไม่แน่…

เหล่านี้เป็นเพียงข้อสังเกตต่าง ๆ ที่เปรียบเทียบเฉพาะ iPhone ด้าน Hardware จากอดีตจนถึงวันนี้ แต่ส่วนตัวแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจอยู่อีกประการสำคัญ



ผู้ตั้งกระทู้ warrr (lelemimi76-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-05-19 10:41:11


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล