ReadyPlanet.com


อย่าอิจฉาใคร เพียงเพราะไม่มีความสุข


 ความ “อิจฉา” เป็นเรื่องของความอ่อนไหวทางอารมณ์ บางครั้งก็ตรงไปตรงมา บางครั้งก็ซับซ้อน แต่เราล้วนคงเคยสัมผัสประสบการณ์ภาวะอารมณ์นี้ มุมหนึ่งก็ดูเป็นเรื่องธรรมดาที่คนเราต้องอิจฉากันบ้าง แต่บางทีไม่ให้มันเกิดขึ้นคงดีกว่า โดยอย่างยิ่งถ้าอิจฉาใครเพียงเพราะ “ไม่มีความสุข” นั่นจะยิ่งทำให้ สุขห่างไกลเราไปอีก

คนที่มีความสุข ย่อมไม่อิจฉา

บนความหมายอย่างเป็นทางการของภาษาไทย อิจฉา ถือว่าน้อยกว่า “ริษยา” ดังนั้น อิจฉาไม่จำเป็นต้องมีความเกลียดชังเกี่ยวข้อง หรืออีกฝ่ายไม่จำเป็นต้องรับรู้ และระดับความมากน้อยมักเกิดอยู่ภายในตัวเราเองเป็นหลัก แม้แรงกระตุ้น หรือปัจจัยที่ทำให้เกิดความอิจฉา มาได้จากหลายทาง “การไม่มีความสุข” ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ โดยจะเคยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม

หากบอกว่า คนที่กำลังมีความสุข จะไม่นึกอิจฉาใคร… เพราะส่วนใหญ่แล้วภาวะสุขเราก็สนใจแต่ตัวเองอยู่แล้ว ดื่มด่ำความสุขไปจะมาสนใจเรื่องคนอื่นทำไมในตอนนั้น และอาจนึกออกด้วยว่า เวลาเราเป็นฝ่ายเห็นคนอื่นมีความสุขต่างหาก จึงรู้สึกอิจฉาได้ แต่นี่ก็เพียงส่วนเดียวในภาวะอารมณ์ที่เรียกว่าสุข เกิดขึ้นชั่วครู่ ชั่วคราว ไม่ใช่ตลอดไปหรือเสมอไปความอิจฉาย่อมมีพื้นฐานจากการเปรียบเทียบเป็นสำคัญ ดังนี้สิ่งแรกที่เป็นข้อสังเกตคือ หากเราไม่ได้มองใคร หรือเห็นสิ่งใดให้เกิดการเปรียบเทียบ ถูกกระตุ้น ย่อมไม่ทำให้ความอิจฉานั้นเกิดขึ้น แต่ด้วยชีวิตที่ดำเนินไป แม้จะไม่ได้ไปสอดส่องหา บางสิ่งก็เข้ามาเองให้รู้สึกได้เช่นกัน เพียงแต่ไม่ว่าจะไปมองเห็น หรือมีสิ่งกระตุ้นเข้ามาให้เห็นโดยบังเอิญ ก็ไม่อาจทำให้เรารู้สึกอะไรได้หากเรามี “ความสุขของเราเอง”

ดังตัวอย่าง เช่น…

มันอาจดูน่าอิจฉาที่เห็นคนออกรถใหม่ป้ายแดง แต่สำหรับคนที่ชอบแต่งรถเก่า หรือเล่นรถคลาสสิค ก็อาจไม่รู้สึกอิจฉาสักนิด

หรือ อาจดูน่าอิจฉาที่เห็นคนขับรถสปอร์ต แต่สำหรับคนชอบปั่นจักรยานเป็นชีวิตจิตใจ นอกจากไม่อิจฉาแล้ว อาจรู้สึกถึงอันตราย มลพิษ หรืออื่น ๆ แทนก็เป็นได้

ซึ่งไม่ได้หมายความว่า คนที่มีความสุขบนแนวทางตัวเองเหล่านั้น จะไม่อยากได้รถป้ายแดง ไม่ชอบรถสปอร์ต ไปเสียหมด เพียงแต่อย่างน้อยเขาย่อมรู้สึกว่า “ไม่จำเป็นต้องอิจฉา” ก็เท่านั้น

ความสุขพอ อาจไม่ใช่ความพอเพียง

จากตัวอย่างข้างต้นอาจมองไปอีกมุมก็ได้ เช่นว่า คนชอบปั่นจักรยานอาจไม่อิจฉาคนขับรถสปอร์ตก็จริง แต่ก็มีโอกาสอิจฉาคนที่มีจักรยานสวย หรือจักรยานรุ่นใหม่ได้อยู่ดี รวม ๆ แล้ว คนที่ไม่อิจฉาคือคนที่รู้จักพอมากกว่า… สล็อตออนไลน์

คนที่พอใจในสิ่งที่ตนมี ย่อมเป็นเรื่องที่ดี เพียงแต่คล้ายที่กล่าวไปข้างต้นว่า ริษยา มีระดับความแตกต่างกับอิจฉา และในความอิจฉาเอง ก็มีระดับย่อยลงมา ขึ้นอยู่กับว่าจะถูกใช้แทนด้วยคำว่าอะไร บางครั้งเราแค่ “หมั่นไส้”, “อยากได้บ้าง” กระทั่ง อิจฉา ก็เป็นคำหยอกล้อเชิงบวกได้ในหลายกรณี ที่การแบ่งแยกคงอยู่ที่ว่ารู้สึก “ทุกข์” หรือไม่จากการอิจฉานั้น

ดังนี้หากใครคนหนึ่งที่ชอบปั่นจักรยาน แม้อาจอิจฉาคนมีจักรยานรุ่นใหม่ แต่ก็ยากจะถึงขั้นริษยา หรืออยากได้บ้างจนเป็นทุกข์ เว้นเสียแต่ว่า เขาไม่ใช่ผู้มีความสุขจากการปั่นจักรยานโดยแท้จริง และนี่กำลังหมายถึงว่า บางครั้ง “ความสุขพอ” ก็ไม่จำเป็นต้องพอเพียง หรืออยู่ในลักษณะที่ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว เพียงแต่เป็นผู้รู้ว่ากรอบความสุขของตนอยู่ที่ไหน และการที่ยังมีความต้องการ ในอีกด้านก็อาจเป็นแรงขับ แรงผลักให้ก้าวหน้าไขว่คว้าในสิ่งที่ต้องการ ที่เป็นเป้าหมายอันมีความสุข ที่สำคัญความรู้สึกเช่นนี้มันจะแตกต่างอย่างมาก เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีความสุขเอาเสียเลย แล้วได้แต่อิจฉา…

อิจฉาเพราะไม่มีความสุข?

“Multipliers” เป็นหนังสือเกี่ยวกับผู้นำ การจัดการคน บริหารคน เขียนโดย Liz Wiseman และ Greg McKeown แปลเป็นไทยชื่อ “บริหารแบบผู้นำ สร้างคนให้เป็นอัจฉริยะ” โดยคำว่า Multipliers ในเล่มนี้แปลไว้ว่า “ผู้ทวีปัญญา” หรือ “ผู้นำแบบทวีปัญญา” เป็นหนังสือที่ดีมาก ๆ เล่มหนึ่ง

ก็ช่างเป็นเรื่องบังเอิญที่ในเวลา ใกล้ ๆ กันผมอ่านเรื่องนี้ต่อจาก Mindset โดย Carol Dweck ซึ่งก็ชื่นชอบ และมีแก่นแนวคิดที่ไม่ต่างกันนัก แต่สำหรับ Multipliers เป็นหนังสือเน้นไปในทางการเป็นผู้นำ เมื่อผมลองนำมาปรับใช้ และตั้งสังเกต กลับพบว่าอาจมีปัญหากับสังคมไทยบางประการ..



ผู้ตั้งกระทู้ mii (lelemimi888-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2023-08-04 10:18:28


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล